พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน
ให้คำอธิบายไว้ว่าหมายถึง หลักสำคัญ ๔ ประการของการศึกษาตลอดชีวิต
ตามคำอธิบายของคณะกรรมาธิการนานาชาติว่าด้วยการศึกษาในคริสต์ศตวรรษที่ ๒๑
ซึ่งได้เสนอรายงานเรื่อง Learning : The Treasure Within ต่อองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) เมื่อ ค.ศ. ๑๙๙๕ ว่าการศึกษาตลอดชีวิตมีหลักสำคัญ
๔ ประการ ดังนี้
1. การเรียนเพื่อรู้
(Learning to Know) การเรียนที่ผสมผสานความรู้ทั่วไปกับความรู้ใหม่ในเรื่องต่าง
ๆ อย่างละเอียดลึกซึ้ง และยังหมายรวมถึงการฝึกฝนวิธีเรียนรู้
เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิต
2. การเรียนรู้เพื่อปฏิบัติได้จริง
(Learning to Do) การเรียนรู้ที่ช่วยให้บุคคลสามารถรับมือกับสถานการณ์ต่าง
ๆ และปฏิบัติงานได้ เป็นการเรียนรู้โดยอาศัยประสบการณ์ต่าง ๆ
ทางสังคมและในการประกอบอาชีพ
3. การเรียนรู้เพื่อการอยู่ร่วมกัน
(Learning to Live Together)การเรียนรู้ที่ช่วยให้บุคคลเข้าใจผู้อื่นและตระหนักดีว่า
มนุษย์เราจะต้องพึ่งพาอาศัยกัน ดำเนินโครงการร่วมกันและเรียนรู้วิธีแก้ปัญหาข้อขัดแย้งต่าง
ๆ โดยตระหนักในความแตกต่างหลากหลาย ความเข้าใจอันดีต่อกันและสันติภาพ
ว่าเป็นสิ่งล้ำค่าคู่ควรแก่การหวงแหน
4. การเรียนรู้เพื่อชีวิต
(Learning to Be) การเรียนรู้ที่ช่วยให้บุคคลสามารถปรับปรุงบุคลิกภาพของตนได้ดีขึ้น
ดำเนินงานต่าง ๆ โดยอิสระยิ่งขึ้น มีดุลพินิจ และความรับผิดชอบต่อตนเองมากขึ้น
การจัดการศึกษาต้องไม่ละเลยศักยภาพในด้านใดด้านหนึ่งของบุคคล เช่น ความจำ
การใช้เหตุผล ความซาบซึ้งในสุนทรียภาพ สมรรถนะทางร่างกาย
ทักษะในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น