ทฤษฎีสนาม ของ Kurt Lewin (Field Theory)



ทฤษฎีสนาม (Field Theory)
ทฤษฎีการเรียนรู้ของทฤษฎีสนาม  สามารถสรุปได้ดังนี้
1. พฤติกรรมของคนมีพลังและทิศทาง สิ่งใดที่อยู่ในความสนใจและความต้องการของตน จะมีพลังเป็น + สิ่งที่นอกเหนือจากความสนใจจะมีพลังงานเป็น – ในขณะใดขณะหนึ่งทุกคนจะมีโลก หรือ อวกาศชีวิต (life space) ของตน ซึ่งจะประกอบไปด้วยสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (physical environment) อันได้แก่ คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ สิ่งแวดล้อมอื่นๆ และสิ่งแวดล้อมทางจิตวิทยา

Kurt Lewin เสนอ แนวคิดทฤษฎีสนามว่า หมายถึง ความสามารถที่จะวิเคราะห์แรงต่าง ๆ ที่มีอยู่ในสภาวะการที่ต้องการจะเปลี่ยนแปลง เป็นความพยายามที่จะให้กลุ่มเกิดการเปลี่ยน โดยแรงต่าง ๆ มีอิทธิพลต่อกันและกันจากแนวความคิดของLewin เชื่อว่า พฤติกรรมเป็นผลของแรง 2 ประเภท ซึ่งมีบทบาทตรงข้างกัน คือ แรงต้าน และ แรงเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การนำทฤษฎีสนามไปประยุกต์ใช้อย่างถูกต้องจะช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมมากขึ้น การจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างมีประสิทธิภาพนั้น ใช้ 3 กลวิธี ดังนี้
1. เพิ่มขนาดของแรงเสริม
2. ลดขนาดของแรงต้าน
3. เพิ่มขนาดของแรงเสริม ขณะเดียวกันก็ลดขนาดของแรงต้าน
Lewin ได้ เสนอแนวทางเพื่อดำเนินการเปลี่ยนแปลงโดยมีขั้นตอนดังนี้
1. ละลายพฤติกรรมเดิม
2. การวิเคราะห์ปัญหา
3. การตั้งเป้าหมาย
4. การมีพฤติกรรมใหม่
5. การทำให้พฤติกรรมใหม่นั้นคงอยู่

ทฤษฎีสนาม





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น