แบบจำลอง NPU MODEL โดย นางสาว ธิดาวรรณ อาทิตย์ตั้ง

NPU Model คือ การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน โดยใช้วิจัยเป็นฐาน 
นิยามศัพท์ของการวิจัย 
         การวิจัย หมายถึง กระบวนการแสวงหาความรู้ความจริงโดยวิธีการอย่างมีระบบที่เชื่อถือได้ หรือวิธีการวิทยาศาสตร์นั่นเอง [Lehmann and Mehrens อ้างโดย ล้วน สายยศและอังคณา สายยศ เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา 2536 หน้า 9]
ความหมายทางจิตวิทยาที่อยู่เบื้องหลัง
1.รูปสามเหลี่ยม  
         รูปสามเหลี่ยมมียอดสามเหลี่ยมแหลม ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความยิ่งใหญ่หรือเหนือกว่า –ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของภูเขา “จุดสุดยอดของความสำเร็จ.” เปรียบเสมือนกับการผลักดันตัวเองให้กล้าเอาชนะความท้าทาย และการทำให้ดีที่สุด
 

2.วงกลม
รูปวงกลมไม่มีจุดเริ่มต้นหรือสิ้นสุด ซึ่งหมายถึงความสมบูรณ์แบบและครบวงจร รูปวงกลมมีอยู่รอบๆตัวเราในธรรมชาติ เช่น ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลก เรียกได้ว่า รูปวงกลมสามารถใช้เป็นสัญลักษณ์หรือตัวแทนของโลก และจักวาล


แบบจำลอง NPU Model  ประกอบด้วยวงกลม 3 วง วางซ้อนกันซึ่งเปรียบเสมือนโลกแห่งการศึกษาที่มีองค์ประกอบสำคัญ 3ประการ และประกอบด้วยรูปสามเหลี่ยมตรงจุดศูนย์กลาง 4 รูป
1.วงกลม วงนอกสุด คือ  ตัวแปลตาม ซึ่งประกอบด้วย
   ·       ความรู้ในการพัฒนาหลักสูตร
   ·       ความสามารถในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
   ·       ความคิดเห็นของนักศึกษาวิชาชีพครูที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอน


2. วงกลม2วงที่ถัดเข้าไป จากวงกลมวงนอกสุด คือ แผนในการปฏิบัติงาน (Preparing for Action) ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 N- Need Analysis
1.1 วิเคราะห์จุดหมายในการเรียนรู้นักศึกษาวิเคราะห์หลักการจัดการศึกษาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และจุดหมายของการศึกษาในระดับสากล (World class Education) เพื่อกำาหนดจุดหมายในการเรียนรู้วิชา “การพัฒนาหลักสูตร” และนำไปกำหนดจุดหมายของหลักสูตรที่นักศึกษาจะต้องพัฒนาขึ้น
1.2 การวางแผนการเรียนรู้ผู้เรียนวางแผนการเรียนรู้ด้วยตนเอง
1) กำหนดกลยุทธการพัฒนาตนเองจากการศึกษาเอกสารหนังสือหลักฐานร่องรอยหรือการสืบค้นในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือปฏิบัติกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ “กระบวนการพัฒนาหลักสูตร
2) จัดทําปฏิทินและเครื่องมือในการกำกับติดตามเพื่อการประเมินตนเองในการพัฒนาหลักสูตร
ขั้นที่  2 P-/Praxis
2.1 การพัฒนาทักษะการเรียนรู้นักศึกษาศึกษาเรียนรู้ด้วย การแสวงหาและใช้แหล่งการเรียนรู้ทั้งในรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือและการเรียนรู้ร่วมกันการใช้วิธีการต่างๆ ในการเรียนรู้ และการตรวจสอบความรู้ "กระบวนการพัฒนาหลักสูตร"
2.1.1 การแสวงหาและใช้แหล่งการเรียนรู้
2.1.2 การใช้วิธีการต่างๆ ในการเรียนรู้
2.1.3 การตรวจสอบความรู้นักศึกษาจะได้รับการสนับสนุนให้ทํากิจกรรมการ
ปฏิบัติการใช้คอมพิวเตอร์และกิจกรรมกลุ่มมีการแลกเปลี่ยนความคิดของนักศึกษาเปิดการอภิปราย
ให้กว้างขวางเสนอหลักฐานร่องรอยของความคิดของนักพัฒนาหลักสูตรเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้
อภิปรายกับกลุ่มเพื่อนภายใต้บรรยากาศการเรียนรู้ที่สนับสนุนซึ่งกันและกัน
2.2 การสรุปความรู้และการวิพากษ์ความรู้ผู้สอนส่งเสริมให้นักศึกษาได้อธิบายแนวคิด
กระบวนการพฒนาหลักสูตร” โดยใช้ภาษาของตนเองสอบถามถึงหลักฐานและความชัดเจนในการอธิบายของนักศึกษาที่ใช้ความรู้เดิมหรือประสบการณ์ที่มีมาก่อนของผู้เรียนเป็นพื้นฐานในการ
อธิบายในส่วนการวิพากษ์ความรู้ผู้สอนกระตุ้นให้ผู้เรียนขยายความรู้ความเข้าใจใน
กระบวนการพฒนาหลักสูตร” ของนักศึกษาโดยผ่านประสบการณ์ใหม่ๆผู้เรียนจะได้รับการ
สนับสนุนให้นําความรู้ปรับใช้กับประสบการณ์ ในชีวิตจริงโดยผ่านกระบวนการพัฒนาหลักสูตร
นักศึกษานำความรู้ความเข้าใจไปประยุกต์ โดยการพัฒนาหลักสูตรเพิ่มขึ้น

ขั้นที่ 3 U-Understanding

การตรวจสอบทบทวนตนเองด้วยการประเมินความเข้าใจในการเรียนรู้ - การประเมินความรู้ส่งเสริมให้นักศึกษาประเมินความรู้และความสามารถของตนเอง ประเมินความก้าวหน้าในการเรียนและประเมินการบรรลุจุดหมายการศึกษา ผู้วิจัยได้สังเคราะห์แนวคิดทฤษฎีและนำเสนอเป็นแบบจำลองการเรียนการสอน เรียกว่า NPU Model

3. รูปสามเหลี่ยมตรงจุดศูนย์กลาง 4 รูป หมายถึง
1) NPU=การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบ NPU MODEL
2)N=Planning  คือ การวางแผน ส่วนนี้คือ creativity (ความคิดสร้างสรรค์ ความคิดใหม่ๆที่ทำให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์เดียวกันได้หลายๆวิธี และสามารถทำประโยชน์ที่มีคุณค่าแก่งานได้) ที่เป็น planning  เขียนเป็นปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ และจุดหมายของหลักสูตร
ปรัชญา คือ วิชาว่าด้วยหลักแห่งความรู้ และความจริง.
วิสัยทัศน์หมายถึง  เป้าหมายที่มีลักษณะกว้างๆ   เป็นความต้องการในอนาคต  โดยมิได้กำหนดวิธีการไว้เป็นข้อความทั่วไป  ซึ่งกำหนดทิศทางของภารกิจ  เป็นความมุ่งหมายในสถานภาพที่เราจะไปเป็น  หรือเราไปอยู่    วันหนึ่งในอนาคต  ที่องค์กรมุ่งหมาย  มุ่งหวังหรือประสงค์จะเป็น  หรือจะมีในอนาคต

ลักษณะของวิสัยทัศน์ที่ดี

1.      มีความชัดเจน สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้
2.      เป็นภาพเชิงบวกที่สะท้อนถึงความเป็นเลิศ ซึ่งอาจจะกำหนดเวลาไว้ด้วยก็ได้
3.      ต้องท้าทายความสามารถ
4.      คำนึงถึงผู้รับบริการเป็นสำคัญ
5.      มีความสอดคล้องกับแนวโน้มในอนาคต
     พันธกิจ (Mission)
     พันธกิจมีคำที่ใช้แทนกันอยู่หลายคำ เช่น ภารกิจหรือปณิธาน พันธกิจ คือ จุดมุ่งหมายพื้นฐานซึ่งแสดงเหตุผลหรืออธิบายว่าทำไมองค์กรจึงถือกำเนิดขึ้นมาหรือดำรงอยู่ เป็นหลักการที่ใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจ กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ และยุทธศาสตร์
ในขั้นนี้ผู้วิจัยได้กำหนดจุดประสงค์ของหลักสูตร ที่สอดคล้องกับ คุณสมบัติหรือทักษะที่สำคัญของมนุษย์ศตวรรษที่21 คือ ทักษะ 3R8C ที่ผู้บริหารด้านการศึกษาในศตวรรษที่ 21จะต้องเตรียมความพร้อมให้นักเรียน รับนโยบายThailand 4.0
ดร.กมล รอดคล้าย เลขาธิการสภาการศึกษา พูดเรื่องแผนการศึกษาแห่งชาติ

พูดเรื่องแผนการศึกษาแห่งชาติกล่าวว่า แผนการศึกษาฉบับปัจจุบัน ควรมุ่งให้เด็กเกิดทักษะ 3R และ 8C พร้อมอธิบายว่า 3R ได้แก่ 
1Reading: อ่านออก
2.(W)Riting : เขียนได้   
3.(A)Rithmatic: มีทักษะในการคำนวณ
การอ่านออกเขียนได้ คือ ความสามารถในการอ่านออกและเขียนได้โดยอย่างน้อยจะต้องอ่านและเขียนข้อความง่ายๆ ได้ การอ่านออกเขียนได้นี้จะเป็นภาษาใดๆ ก็ได้ทั้งสิ้น ถ้าอ่านออกเพียงอย่างเดียวแต่เขียนไม่ได้ ถือว่าอ่านเขียนไม่ได้
ทักษะการคำนวณ คือ ความสามารถในการบวก ลบ คูณ หาร รวมถึงการจัด
กระทำกับตัวเลข ที่แสดงค่าปริมาณของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งได้จากการสังเกต การวัด การทดลอง
โดยตรง ทักษะการคำนวณแตกต่างจากทักษะอื่นตรงที่ ส่วนใหญ่สอนและเรียนกันในวิชา
คณิตศาสตร์ แล้วนำมาใช้ในวิชาวิทยาศาสตร์ผู้ที่มีทักษะการคำนวณ จะเป็นผู้ที่สามารถจัดกระทำ
กับตัวเลขได้ดี
 1.Critical Thinking and Problem Solving: มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาได้
2.Creativity and Innovation: คิดอย่างสร้างสรรค์ คิดเชิงนวัตกรรม
3.Collaboration Teamwork and Leadership: ให้ความร่วมมือในการทำงานเป็นทีมมีภาวะผู้นำ
4.Communication Information and Media Literacy: มีทักษะในการสื่อสาร และรู้เท่าทันสื่อ
5.Cross-Cultural Understanding: มีความเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรม
6.Computing and ICT Literacy: มีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ และรู้เท่าทันเทคโนโลยี
7.Career and Learning Skills: มีทักษะทางอาชีพ และกระบวนการเรียนรู้ต่างๆ
8.Compassion: มีคุณธรรม มีเมตตากรุณา มีระเบียบวินัย ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญที่ผู้บริหารโรงเรียนจะต้องมีเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดี ต่อนักเรียนได้ศึกษาอย่างลึกซึ้ง
เพื่อให้เกิดทักษะเหล่านี้ “ครู” ต้องเตรียมคนออกมาสู่สังคม ดังนั้น ครูจะต้องเปลี่ยนหน้าที่จาก “ผู้สอน” มาเป็น “โค้ช”
ขณะที่ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

บรรยายพิเศษเรื่อง การขับเคลื่อนไทยแลนด์ 4.0 ด้านพัฒนาคน เน้นว่า เพราะว่าโลกของเรากำลังเปลี่ยนแปลงไปเร็วมาก ไทยเราจึงต้องปรับตัว การปรับตัวนั้นผู้อำนวยการโรงเรียนมีส่วนสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยการเปลี่ยนแปลงนั้นมีอยู่ 3 ด้าน ดังนี้
1.โลกแห่งความสุดโต่ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องธรรมชาติ เศรษฐกิจ และการเมือง และที่น่ากลัวที่สุดคือด้านสังคม ถ้าปรับตัวไม่ทัน ปัญหาก็จะเกิดขึ้นมาเรื่อยๆ
2.ความย้อนแย้ง กฎเกณฑ์เก่าๆเริ่มใช้ไม่ได้ ทำให้มีกฎเกณฑ์ใหม่ๆ ขึ้นมา เรื่องนี้ระบบราชการกำลังเผชิญอยู่
3.การเปลี่ยนแปลงอย่างเฉียบพลัน มนุษย์เราเริ่มจากสังคมเกษตรกรรม พัฒนามาเป็นอุตสาหกรรม และท้ายสุดมาสู่ยุคดิจิทัล
ทำให้รถที่ขับเคลื่อนได้เองกลายเป็นเรื่องธรรมดา แต่ก็เกิดปัญหาคือ กฎระเบียบที่สร้างไว้ไม่สามารถรองรับได้ กลายเป็นอนาคตไล่ล่าเราอยู่ และยังทำให้หลักการพัฒนาประเทศแบบเก่าเริ่มมีปัญหา พร้อมบอกการเตรียมตัวรับโลกยุคใหม่ว่า อย่าตกใจ ให้นึกถึงสภาวะที่ยังเป็นดักแด้ก่อนที่จะเป็นผีเสื้อต้องจะอึดอัดเป็นธรรมดา ภาวะเหล่านี้จะนำไปสู่โอกาสชุดใหม่ ซึ่งจะมาพร้อมกับความสามารถชุดใหม่ และการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิด มีทั้งเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต วัฒนธรรม เปลี่ยนแปลงการเรียนรู้ และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการทำงาน
ขณะนี้ “เราแยกไม่ออกระหว่างเรากับเทคโนโลยี แต่เราต้องสอนเด็กในการอยู่ ในการดำรงชีวิตในโลกดิจิทัลให้ได้”
พร้อมกันนั้นก็ต้องมองเห็นสิ่งดีในสิ่งเลวร้ายให้ได้ และต้องดูให้ออกว่า มีผลข้างเคียงอย่างไรบ้าง โลกของสื่อสิ่งพิมพ์นั้น ไม่ได้อยู่บนกระดาษแล้ว เรื่องข้อมูลข่าวสารนั้น สำคัญอยู่ที่ว่า เราจะคัดกรองอย่างไร นั่นหมายถึง จะรู้เท่าทันสื่อได้อย่างไรนั่นเอง
แหล่งศึกษาความรู้ในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยอาจไม่ใช่คำตอบสุดท้ายแล้ว เห็นได้จากในสหรัฐอเมริกามีมหาวิทยาลัยหลายแห่งต้องปิดตัวลงไป เพราะไม่มีคนเรียน
การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ในบริบทใหม่ๆ บางเรื่องราวที่รู้มาจะไม่ใช่อย่างนั้นอีกต่อไปแล้ว ดังนั้น เราต้องรู้จังหวะจะโคนของโลกด้วย เพราะในสมัยก่อนความรู้คืออำนาจ แต่ปัจจุบันความรู้เป็นเรื่องที่ต้องแบ่งปันกัน ยิ่งแบ่งปันเท่าไรก็เหมือนยิ่งมีอำนาจ
การเปลี่ยนแปลงที่ต้องทำก็คือ
1.เปลี่ยนกระบวนความคิดที่ถูกต้อง ต้องกล้าคิด กล้าทำ และกล้าเปลี่ยนแปลง
2.ต้องกล้าเปลี่ยนแปลงเด็ก ให้เด็กอยู่ในโลกได้และอยู่กับตนเองได้ ผู้ทำหน้าที่นี้สำคัญก็คือ “ครู” เพราะครูสร้างคน แล้วคนเป็นผู้สร้างชาติ
อุปสรรคสำคัญอยู่ที่นิสัยคนไทยบางประการ นั่นคือ นิสัย “เสีย” ของคนไทย 8 ประการ ได้แก่
1.ติดระบบอุปถัมภ์ เล่นเส้นเล่นสาย พวกพ้อง
2.ขี้เกียจ
3.ชอบขอ รอแต่ความช่วยเหลือ
4.ชอบเฉลิมฉลอง ชอบเที่ยวเตร่เฮฮา
5.ติดแบรนด์ ใช้ของหรูหราราคาแพง
6.ไม่รักษาเวลา ชอบอ้างเหตุผลข้างๆคูๆ
7.ทีมเวิร์กที่ไม่ดี  
8.ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง
การเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนาสืบไป หากนิสัยคนไทยยัง “เสีย” เหมือนเดิม โอกาสพัฒนาย่อมเป็นไปไม่ได้ ดังนั้น เราต้องกลับมาหาความถูกต้องก่อน นั่นคือมาที่พื้นฐานสำคัญคือ “บ้าน วัด โรงเรียน” เป้าหมายของเราคือ มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน
1.ความมั่นคง เราจะให้คนกับธรรมชาติอยู่ร่วมกันได้อย่างไร ทำอย่างไรให้คนอยู่ในท้องถิ่นของตนเองได้อย่างปกติสุข
2.ความมั่งคั่ง เศรษฐกิจต้องกระจายตัวออกไป เพื่อลดความเหลื่อมล้ำลงไป
3.ยั่งยืน ต้องทำให้เศรษฐกิจไหลเวียน
ต้องไม่ลืมว่า การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นได้จะต้องสร้างคน หน้าที่ครูคือสร้างคน ต้องสร้างเด็กให้ถูกต้อง รู้หน้าที่ของตนเอง อย่างเกาหลีใต้ที่ประสบความสำเร็จก็เพราะเขาเตรียมคนมาก่อนแล้ว เป็นต้น
สำหรับแผนการศึกษาของไทยฉบับปัจจุบัน กำหนดยุทธศาสตร์การเรียนรู้ไว้ถึง 20 ปี นับตั้งแต่ พ.ศ.2560–2579 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการบอกว่า มีอยู่ 3 คำ ที่ต้องทำความเข้าใจ คือ โอกาส ความเหลื่อมล้ำ และคุณภาพ
        “การจะทำอะไรกับการศึกษานั้น เราต้องย้อนไปในอดีต อย่างฟินแลนด์ ฟิลิปปินส์ เขาทำมาก่อน 15 ปี ถึงจะมามีการศึกษาดีอย่างปัจจุบัน” สำหรับ “ไทยรัฐผมเข้าใจว่าเดินมาถูกทางแล้ว และทำได้มีคุณภาพดีทีเดียว”
สำหรับการพัฒนาคุณภาพการศึกษา เกณฑ์การประเมินโรงเรียนต่อไปจะไม่ให้ทำแต่กระดาษเท่านั้น ส่วนการเปลี่ยนผู้บริหารโรงเรียนก็ต้องดูกันที่ความสามารถบริหาร และภาวะความเป็นผู้นำอย่างแท้จริง
สิ่งที่ไม่อาจมองข้ามก็คือ การพัฒนาคุณภาพครู จะต้องมีการพัฒนาคุณภาพของครูอย่างจริงจังโดยนำเอาแนวพระราชปณิธานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 มาใช้ ดังนั้นจะต้องมีการอบรมครู ให้มีคุณธรรม จริยธรรม และจิตวิญญาณของความเป็นครู ส่วนหลักสูตรนั้น จะต้องเป็นหลักสูตรที่ผู้เรียนต้องเรียน ต้องการเพิ่มเติมความรู้ของผู้เรียน เพื่อการทำงาน หรือเพื่อประโยชน์ของผู้เรียนอย่างแท้จริง
แนวคิดนี้สอดคล้องกับ ดร.ปัญญา แก้วกียูร นักการศึกษาไทยที่บอกว่า การเรียนรู้ ถ้าเรียนในสิ่งไม่ชอบ และสิ่งที่ไม่ใช่ ผู้เรียนก็จะไม่เติบโต

การศึกษาสร้างคน ถ้าการสร้างคนล้มเหลว อนาคตของชาติย่อมประจักษ์อยู่แล้วว่าจะเป็นอย่างไร
นอกจากนี้ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ วิจารณ์ พานิช ผู้ก่อตั้งและอดีตประธานสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย และก่อตั้งสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม ปัจจุบันทำหน้าที่รักษาการนายกสภาสถาบันอาศรมศิลป์ เป็นผู้มีบทบาทสำคัญของประเทศในการสร้างและพัฒนาระบบบริหารจัดการงานวิจัย และการจัดการความรู้ ได้กล่าวถึงทักษะที่สำคัญในทศวรรษที่21 3R8C ไว้ว่า

วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21
การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ต้องก้าวข้ามสาระวิชาไปสู่การเรียนรู้ทักษะเพื่อการดํารงชีวิตในศตวรรษที่ 21” (21stCentury Skills)  ให้นักเรียน เรียนรู้จากการเรียน แบบลงมือทํา แล้วการเรียนรู้ก็จะเกิดจากภายในใจ และสมองของตนเอง การเรียนรู้แบบนี้เรียกว่า PBL (Project-based Learning)ครูเพื่อศิษย์ต้องเรียนรู้ทักษะใน

PBL (Problem-based Learning : การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน) คือ การเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความต้องการที่จะใฝ่หาความรู้เพื่อแก้ปัญหา เป็นเทคนิคการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ลงมือ ปฏิบัติด้วยตัวเอง เป็นผู้ตัดสินใจในสิ่งที่ต้องการแสวงหาความรู้  เผชิญหน้ากับปัญหาด้วยตัวเอง และรู้จักการทำงานร่วมกันเป็นทีมภายในกลุ่มผู้เรียน โดยผู้สอนมีส่วนร่วมน้อยที่สุด ซึ่งการเรียนรู้จากปัญหาอาจเป็นสถานการณ์จริง
PBL มีการพัฒนาขึ้นครั้งแรกโดยคณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ (Faculty of Health Sciences) ของ มหาวิทยาลัย McMaster ที่ประเทศแคนาดา ได้ถูกนำมาใช้ในกระบวนการติว (tutorial process) ให้กับ นักศึกษาแพทย์ฝึกหัด จนกระทั่งกลางปี ค.ศ. 1980 เทคนิคการสอนโดยใช้รูปแบบ PBL ได้เริ่มขยายออกไปสู่การสอนในสาขาอื่น ๆ เช่น วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาศาสตร์ สังคมศาสตร์ พฤติกรรมศาสตร์
ยุคศตวรรษที่ 21 ปัจจุบันการเรียนรู้สาระวิชา (Content หรือ Subject matter) ควรเป็นการเรียนจากการค้นคว้าเองของศิษย์ โดยครูช่วยแนะนํา และช่วยออกแบบกิจกรรมที่ช่วยให้นักเรียนแต่ละคนสามารถประเมินความก้าวหน้าของการเรียนรู้ของตนเองได้

ยุคศตวรรษที่ 21 ปัจจุบันการเรียนรู้สาระวิชา (Content หรือ Subject matter) ควรเป็นการเรียนจากการค้นคว้าเองของศิษย์ โดยครูช่วยแนะนํา และช่วยออกแบบกิจกรรมที่ช่วยให้นักเรียนแต่ละคนสามารถประเมินความก้าวหน้าของการเรียนรู้ของตนเองได้
สำหรับโลกในศตวรรษที่ 21 นอกจากความรู้ในวิชาหลัก ที่เด็กควรจะได้รับการสอน

เด็กจะต้องควรรู้แนวคิดสำคัญในศตวรรษที่ 21 ดังแผนภาพต่อไปนี้
นอกจากนี้ยังต้องปลูกฝังทักษะสำคัญ 3  ทักษะ ได้แก่
1.ทักษะเพื่อชีวิตและการทำงานในศตวรรษที่ 21 

2.ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม

3.ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี

          และเพื่อให้กระบวนการเรียนรู้ต่างๆประสบผลสำเร็จ จำเป็นจะต้องมีพื้นฐาน 4ด้าน เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ดังแผนภาพต่อไปนี้

สรุปได้ว่า ทักษะในศตวรรษที่ 21 (21stCentury Skills) เป็นหัวใจสำคัญสำหรับการจัดการศึกษา เพื่อพัฒนามนุษย์มีทักษะยุค 4.0 ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์ของการศึกษาแห่งชาติ


 วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21 
โดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์ วิจารณ์ พานิช


3. P=Generating  คือ การออกแบบและจัดหลักสูตร(design&organize) 
    Creativity=generating การทำให้หลักสูตรให้ปรากฎหรือมีขึ้น กรณีนี้อาจเขียนเป็น
course syllabus (ประมวลรายวิชา) เขียนเป็นสาระในหลักสูตร วิชาบังคับ วิชาเลือกความรู้  
และทักษะสมรรถนะเมื่อจบหลักสูตร
ในขั้นนี้ผู้วิจัยได้ออกแบบและจัดการหลักสูตรให้มีความเหมาะสมกับเด็กปฐมวัย เช่น คุณสมบัติอันพึงประสงค์ และสมรรถนะต่างๆอันพึงมี สาเหตุที่ผู้วิจัยให้ความสำคัญกับเด็กปฐมวัย เพราะผลวิจัยระบุว่าช่วงการศึกษาในระหว่างแรกเกิดจนถึงอายุ 5 ปี ถือเป็นช่วงการศึกษาที่ดีที่สุดสำหรับสร้างการเรียนรู้ให้กับมนุษย์ทุกคน ในวัยนี้จะเป็นพื้นฐานที่มีความสำคัญต่อพัฒนาการในช่วงอื่น ๆ ของชีวิตเป็นอย่างมาก
ความหมายและความสำคัญของเด็กปฐมวัย
เด็กในวัยแรกเริ่มของชีวิต หรือที่เรียกว่า “เด็กปฐมวัย” คือ วัยตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 5 ปี จัดได้ว่าเป็นช่วงอายุที่สำคัญที่สุดของชีวิต ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม บุคลิกภาพโดยเฉพาะด้านสติปัญญา จะเจริญมากที่สุดในช่วงนี้ และพัฒนาการใด ๆ ในวัยนี้จะเป็นพื้นฐานที่มี ความสำคัญต่อพัฒนาการ  ในช่วงอื่น ๆ ของชีวิตเป็นอย่างมาก 

หลักการจัดการศึกษาปฐมวัย

          เด็กทุกคนมีสิทธิ์ที่จะได้รับการอบรมเลี้ยงดู และส่งเสริมพัฒนาการ ตลอดจนการเรียนรู้อย่างเหมาะสม ด้วยปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเด็กกับพ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูหรือบุคคลที่มีความรู้
ความสามารถในการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษา เพื่อให้เด็กมีโอกาสพัฒนาตนเองตามลำดับขั้นของพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุล เต็มศักยภาพ บรรลุตามปรัชญาการศึกษาปฐมวัย
โดยมีหลักการ ดังนี้
 ๑. ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ และพัฒนาการที่ครอบคลุมเด็กปฐมวัย   ทุกประเภท
 ๒.ยึดหลักการอบรมเลี้ยงดู และให้การศึกษาที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล วิถีชีวิตของเด็กตามบริบทชุมชน  สังคม วัฒนธรรมไทย
๓.พัฒนาเด็กโดยองค์รวม ผ่านการเล่นกิจกรรม และกิจกรรมบูรณาการ สาระการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับวัย๔. จัดประสบการณ์การเรียนรู้ ให้สามารถดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างมีคุณภาพ และมีความสุข
๕.ประสานความร่วมมือกันระหว่างครอบครัว ชุมชน และสถานศึกษาในการพัฒนาเด็กคุณลักษณะที่พึงประสงค์
จุดหมายหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย (หลักสูตรแกนกลาง) เป็นตัวกำหนดมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในการพัฒนาผู้เรียน ดังนี้
         1. ร่างกายเจริญเติบโตตามวัย และมีสุขนิสัยที่ดี
         2. กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กแข็งแรงใช้ได้อย่างคล่องแคล่วและประสานสัมพันธ์กัน
         3. มีสุขภาพจิตที่ดี และมีความสุข
         4. มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตใจที่ดีงาม
         5. ชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะ ดนตรี การเคลื่อนไหว และรักการออกกำลังกาย
         6. ช่วยเหลือตนเองได้เหมาะสมกับวัย
         7. รักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และความเป็นไทย
         8. อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
         9. ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย
        10. มีความสามารถในการคิดและการแก้ปัญหาได้เหมาะสมกับวัย
        11. มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
        12. มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ และมีทักษะในการแสวงหาความรู้
สมรรถนะ 7 ด้าน ที่เด็กปฐมวัยต้องมี
สมรรถนะของเด็กปฐมวัย ต้องพัฒนาทั้งหมด 7 ด้าน เพื่อให้เหมาะสมตามวัย 3-5 ปี จากงานเสวนา 
ห้องเรียนพ่อแม่ ตอน พ่อแม่ของเล่นมีชีวิต ณ ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ ในหัวข้อ พ่อแม่ของเล่นมีชีวิต 
โดย อาจารย์เรืองศักดิ์ ปิ่นประทีป และสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา 


  


















4. U=การประเมินผลหลักสูตร(evaluaton)
เขียนเป็นระดับคุณภาพตามSOLO Taxonomy
    ·       ได้๑คะแนนมีความรู้ในเนื้อหาขั้นเลียนแบบ
   ·       ได้๒คะแนนมี๑+มีทักษะจากการใช้ความรู้ฝึกฝนขั้นประยุกต์
   ·       ได้๓คะแนนต้องมี๑และ๒_ขั้นสร้างสรรค์

SOLO Taxonomy จะแตกต่างจาก Bloom Taxonomy เพราะว่าการกำหนดระดับผลการศึกษาของผู้เรียนนั้น ไม่มุ่งเน้นเฉพาะแค่การสอนและการให้คะแนนจากผลงานแต่เพียงอย่างเดียว แต่เป็นกระบวนการประเมินผลที่ให้ความสำคัญว่า ผู้เรียนมีวิธีการเรียนรู้อย่างไร และผู้สอนมีวิธีการอย่างไรที่ช่วยให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการทางปัญญาที่มีความซับซ้อนและก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น
SOLO Taxonomy ประกอบด้วยระดับความเข้าใจ 5 ระดับ ดังนี้
1.     Pre-structural (ระดับโครงสร้างขั้นพื้นฐาน) คือ ในระดับนี้ผู้เรียนจะยังคงไม่เข้าใจ และยังคงใช้วิธีการง่ายๆในการทำความเข้าใจสาระเนื้อหา เช่น ผู้เรียนรับทราบแต่ยังคงพลาดประเด็นที่สำคัญบางอย่างไป
2.     Uni-structural (ระดับมุมมองเดียว) คือ การตอบสนองของผู้เรียนจะมุ่งไปที่มุมมองที่เกี่ยวข้องเพียงมุมมองเดียว เช่น ทำตามคำสั่งง่ายๆได้ จำได้ ระบุได้
3.     Multi-structural (ระดับหลายมุมมอง) คือ การตอบสนองของผู้เรียนจะมุ่งเน้นไปที่หลายๆมุมมองโดยการปฏิบัติต่อผู้เรียนจะเป็นไปอย่างอิสระ เช่น สามารถอธิบายได้ ยกตัวอย่างได้ หรืออาจเชื่อมโยงได้
4.     Relational (ระดับเห็นความสัมพันธ์) คือ การที่สามารถบูรณาการความสัมพันธ์ต่างๆเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน เช่น ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ เปรียบเทียบ แสดงความสัมพันธ์ อธิบายเชิงเหตุผล หรือนำไปใช้ได้

5.     Extended abstract (ระดับขยายนามธรรม) คือ จากขั้นบูรณาการเชื่อมโยงความสัมพันธ์เข้าด้วยกัน จากนั้นจึงมาสู่การสร้างเป็นแนวคิดนามธรรมขั้นสูง หรือการสร้างทฤษฎีใหม่ เช่น การสร้างสรรค์ สะท้อนแนวคิด สร้างทฤษฏีใหม่ เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น