หลักสูตรท้องถิ่น

หลักสูตรท้องถิ่น




ภูมิหลัง
การจักสานเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนที่สำคัญยิ่งต่อการดำรงชีวิตตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การจักสานเป็นตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นภูมิปัญญาอันเฉลียวฉลาดของคนในท้องถิ่น ที่ใช้ภูมิปัญญาสามารถนำสิ่งที่มีอยู่ในชุมชนมาประยุกต์ทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งมีประโยชน์ในการดำรงชีวิต การจักสานมีมานานแล้ว และได้มีการพัฒนามาตลอดเวลาโดยอาศัยการถ่ายทอดความรู้จากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง การดำรงชีวิตประจำวันของชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่ได้เอาการรู้หนังสือมาเกี่ยวข้อง การเรียนรู้ต่างๆ อาศัยวิธีการฝึกหัดและบอกเล่าซึ่งไม่เป็นระบบในการบันทึก สะท้อนให้เห็นการเรียนรู้ ความรู้ที่สะสมที่สืบทอดกันมาจากอดีตมาถึงปัจจุบันหรือที่เรียกกันว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่น ดังนั้นกระบวนถ่ายทอดความรู้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่ทำภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้นคงอยู่ต่อเนื่องและยั่งยืน การจักสานตะกร้าไม้ไผ่ ได้สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ถ่ายทอดภูมิปัญญาจากรุนสู่รุ่น เกิดจากความคิดในการนำเอาไม้ไผ่ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่มีอยู่ในหมูบ้าน นำมาแปรรูปเป็นตะกร้า โดยมี คุณตาสนิท แพนสิงห์ เป็นผู้จักสาน

ประวัติบ้านนาบั่ว  
                บ้านนาบั่ว ตั้งขึ้นเมื่อปี  พ.ศ. 2434  ประชากรได้อพยพมาจากบ้านโพนสาวเอ้  เป็นส่วนใหญ่ประมาณ  90 % และมาจากบ้านโนนสังข์  10 % ของประชากรที่ก่อตั้งหมู่บ้าน  โดยก่อตั้งครั้งแรกที่โนนหนองบัว  ปัจจุบันอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของหมู่บ้าน  (หนองแวง ) โดยการนำของ   นายจันทร์สอน จิตมาตย์ ซึ่งมีพี่น้องร่วมท้องเดียวกันถึง 9 คน น้องคนที่ 2 มีบุตรมากถึง 10 คน เมื่อไม่มีที่ทำกินจึงได้พาน้องขี่ม้ามาหาจับจองที่ทำกินบริเวณหนองบัวในปัจจุบัน  ในเมื่อน้องๆ มีที่ทำกินอุดมสมบูรณ์แล้ว  ผู้เป็นพี่ชายคือ ปู่จันทร์สอนก็กลับไปอยู่ที่บ้านเดิม (บ้านโพนสาวเอ้) และให้น้องคนที่ 2 คือ ปู่ชินจักร จิตมาตย์ ก่อตั้งบ้านอยู่ที่หนองบัว   อีกปีต่อมาน้องทั้ง 6 คน ก็ติดตามมาอยู่ด้วย   จึงได้แบ่งปันที่ทำกินและที่อยู่อาศัยให้ และนอกจากนั้นยังมี   นายไกรบุตร ราชสินธ์  นางลุน  นางทุมมี  นางอ่อนสี  เป็นต้นได้ย้ายมาอยู่ด้วย  จนได้เป็นหมู่บ้านนาบัว ในปัจจุบัน 
            ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2445  ได้ยกฐานะเป็นหมู่บ้านและได้มีการแต่งตั้งผู้ใหญ่บ้านขึ้น  เป็นคนแรก  คือ  นายจิตปัญญา  แสนมิตร  (นายเชียงมัง )  และสร้างวัด บัวขาวขึ้นในปี พ.ศ. 2445  โดยการนำของพระเทศ  นามพลแสน  งานหลักในการสร้างบ้านแปลงเมืองในขณะนั้น  คือ การพัฒนาที่ทำกินมากกว่าอย่างอื่น  เช่น  การเบิกถางที่นา  ทำสวน  เป็นต้น  ในปี พ.ศ. 2454  ผู้ใหญ่บ้านคนแรกได้ถึงแก่กรรมด้วยโรคชรา  จึงได้รับการแต่ตั้งผู้ใหญ่บ้านคนที่  2  คือ  นายวรรณทอง  นามพลแสน  ในขณะนั้นบ้านนาบัวมีทั้งหมด  30  ครอบครัว  แต่ขณะนั้นที่ตั้งหมู่บ้านถูกน้ำท่วม  จึงได้ย้ายที่ตั้งของหมู่บ้านใหม่  ซึ่งคือที่ตั้งของหมู่บ้านปัจจุบัน  ส่วนพี่น้องที่อยู่บ้านโพนสาวเอ้  และบ้านโนนสังข์ก็ได้ย้ายมาอยู่เพิ่มเรื่อย ๆ  ช่วงนี้ผู้ใหญ่วรรณทอง ได้เกษียณอายุราชการ  จึงได้แต่งตั้งผู้ใหญ่กรม  แสนมิตร  ขึ้นมาแทน  การสัญจรไปมากับส่วนราชการมีความยากลำบากมาก  เพราะไม่มีเส้นทางคมนาคมเหมือนในปัจจุบัน  ขณะนั้นบ้านนาบัวขึ้นต่อตำบลเรณูนคร เป็นหมู่ที่ 14 ของตำบลเรณู อำเภอธาตุพนม พาหนะในสมัยนั้นใช้เกวียนโดยใช้โคกระบือในการลาก  การเดินทางไปติดต่อกับตำบลหรืออำเภอ  คือ การเดินเท้า
ในระยะเวลานั้นชาวบ้านนาบัวได้ตั้งถิ่นฐานมั่นคงแล้ว   นายกรม  แสนมิตร  ผู้ใหญ่บ้านและผู้เฒ่าผู้แก่  คิดถึงบ้านพ่อเมืองแม่  จึงได้ปรึกษาหารือกันว่าอยากทำกองกฐินไปทอดที่บ้านเดิม  เมื่อเห็นพ้องต้องกันแล้วจึงตกลงสร้างถนนเพื่อเป็นทางไปทอดถวายกฐินที่บ้านโพนสาวเอ้  ในปี พ.ศ. 2473  ต่อมาประมาณปี  พ.ศ. 2493  ผู้ใหญ่กรม  แสนมิตร ได้เกษียณอายุราชการ  การเลือกตั้งกำนันผู้ใหญ่บ้านสมัยนั้นเป็นการเลือกตั้งแบบเปิดเผยโดยการใช้วิธีการยกมือ  เป็นการตัดสินแพ้ชนะ  ผู้ใหญ่บ้านคนที่ ของบ้านนาบัวคือ  นายเกียรติ  นามพลแสน  ต่อมาในปีพ.ศ.2498  นายบุญทัน  จิตมาตย์ เป็นผู้ใหญ่บ้านคนที่ 5   และบ้านนาบัวได้แยกออกเป็นบ้านหนองกุงและมีนายบัวลำ  ราชสินธ์  เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก

            ในปี พ.ศ. 2500  มีการเคลื่อนไหวทางการเมือง  ผู้นำรัฐบาลในสมัยนั้น  คือ  จอมพล สฤษดิ์  ธนะรัชต์  และฝ่ายที่ต่อต้านรัฐบาลนำโดยนายภูมิ  ชัยบัณฑิต  เป็นผู้นำการเคลื่อนไหวครั้งแรกที่บ้านหนองกุง  มีการต่อสู้กันขึ้นที่เถียงนาพ่อสี  ราชสินธิ์  ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2504  ได้มีการจับกุมราษฎร์ในหมู่บ้าน  ในข้อหาอันธพาล  ได้นำไปขังลืมไว้ที่อำเภอธาตุพนม   จังหวัดนครพนม  จังหวัดอุดรธานี  และย้ายนักโทษไปขังไว้ที่เรือนจำนครบาล  กรุงเทพ ฯ  ครั้งสุดท้ายได้นำนักโทษไปขังไว้ที่เรือนจำราชบัวขาว  จังหวัดนครราชสีมา  ซึ่งมีราษฎรในหมู่บ้านนาบัวและหนองกุงถูกจับไปด้วย  9  คน  ในปี พ.ศ. 2507  ราษฎรที่ถูกจับในข้อหาอันธพาลก็ถูกปล่อยตัวพ้นจากการเป็นนักโทษกลับมาสู่ภูมิลำเนาของตัวเอง  ในเดือนกันยายน  พ.ศ.  2507    ราษฎรในหมู่บ้านถูกยิงตาย  1  คน คือ  นายคุณรม  ไชยราช ในเดือนพฤศจิกายน  พ.ศ 2507   นายภูมิมา   ราชสินธิ์  ผู้มีความขัดแย้งทางการเมืองกับรัฐบาล ซึ่งเป็นราษฎรบ้านหนองกุงถูกยิงเสียชีวิต  ในระยะนี้ความเคลื่อนไหวทางการเมืองของพรรคคอมมิวนิสต์กับรัฐบาลรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ทางรัฐบาลได้ส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจ  ทหารและอาสาสมัคร  มาเคลื่อนไหวปราบปรามราษฎรที่มีความคิดขัดแย้งกับรัฐบาลในเขตบ้านนาบัวและบ้านใกล้เคียง  ราษฎรในพื้นที่บ้านนาบัวได้ทยอยกันเข้าป่า  เพื่อรวมต่อสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์มากขึ้น  ในระยะนั้นผู้ใหญ่บ้าน คือ  นายอัมลา  นามพลแสน  (คนที่ 6)   ในวันที่  7  สิงหาคม 2508  ทางการได้ส่งตำรวจทหารออดปราบปรามฝ่ายคอมมิวนิสต์อย่างหนัก  ในพื้นที่รอยต่อสามอำเภอ  คือ  อำเภอธาตุพนม  อำเภอเมือง  อำเภอนาแก  พื้นที่ระหว่างบ้านนาบัว  บ้านหนองฮี  บ้านดงอินำ ได้เกิดการปะทะขึ้นระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจกับสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย  นานประมาณ  45  นาที  ปรากฏว่าฝ่ายเจ้าหน้าที่เสียชีวิต  1  นาย  บาดเจ็บ  4  นาย    ฝ่ายสมาชิกคอมมิวนิสต์เสียชีวิต  1  นาย  คือ นายกองสิน  จิตมาตย์  ( สหายเสถียร )  ซึ่งเรียกเหตุการณ์ในครั้งนี้ว่า  “ วันเสียงปืนแตก ”  เหตุการณ์บ้านเมืองในขณะนั้นมีความเดือนร้อนเป็นอันมาก
            ในปี พ.ศ. 2509  ทางราชการยิ่งปราบปรามมากยิ่งขึ้น  ผู้ใหญ่อัมลา  นามพลแสน  พร้อมกับราษฎรหลายคนในหมู่บ้าน  ถูกจับในข้อหากระทำการอันเป็นคอมมิวนิสต์  จึงได้มีการเลือกตั้งผู้ใหญ่ขึ้นมาใหม่เป็นคนที่ คือ  นายบุษบา  แสนมิตร   ทางการยิ่งเร่งการปราบปรามมากยิ่งขึ้น  สั่งให้ราษฎร์ทำรั้วรอบหมู่บ้านอย่างแน่นหนาด้วยหนาม  สั่งให้ชาวบ้านไปรายงานตัวก่อนออกไปทำไร่ทำนา  และช่วงกลับมาบ้านอย่างเคร่งครัด  ถ้าราษฎร์คนไหนฝ่าฝืนจะถูกลงโทษอย่างหนัก  เช่น  เตะ  ตี  และนำไปคุมขังที่ค่ายทหารบ้านหนองฮี  และส่งไปที่ค่ายทหารกองทัพภาคที่ จังหวัดมุกดาหาร  ส่วนเจ้าหน้าที่ที่อยู่ในหมู่บ้านที่เหลือต้องอยู่เวรยามภายในรั้วหนามของหมู่บ้าน  เมื่อทางราชการเร่งมือในการปราบปรามราษฎร  ราษฎรก็ยิ่งหลั่งไหลเข้าร่วมต่อสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์มากยิ่งขึ้น   เรื่อยมาจนถึง พ.ศ. 2520  ทางกองทัพภาคที่ มีนโยบาย  66/23   ราษฎรที่เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์เริ่มทยอยกลับเข้ามามอบตัวกับทางการเป็นระยะ ๆ และในสมัยนี้โดยการนำของผู้ใหญ่บุษบา แสนมิตร ได้เสนอโครงการไฟฟ้าชนบทชาวบ้านได้สมทบโครงการด้วยเสาไม้ และคอนสายไฟฟ้า หรือสมทบเงินครัวเรือนละประมาณ 170 บาท หมู่บ้านนาบัวจึงมีไฟฟ้าใช้เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2522   ในวันที่ 7 สิงหาคม 2522 ทางราชการได้จัดงานวันเสียงปืนดับขึ้นเป็นครั้งแรก มีการฝึก ทสปช. โดยพลโทเปรม ติณสูลานนท์ มาทำพิธีปิดการฝึกอบรม ใน ปี พ.ศ. 2522  นายไสว  แสนมิตร  ได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านคนที่ 8 การต่อสู้ระหว่างทางราชการกับกองกำลังติดอาวุธพรรคคอมมิวนิสต์ แห่งประเทศไทยก็ลดลงมาเรื่อย ๆ
ปี พ.ศ. 2535  ได้แยกหมู่บ้านนาบัวเป็น 2 หมู่บ้าน  คือ  หมู่ที่  5 กับ หมู่ที่ 13 มี นายคำสิงห์   จิตมาตย์  เป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 13 คนแรก และผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 5 ยังคงเป็นนายไสว แสนมิตร  ใน ปีพ.ศ. 2537 บ้านนาบัวหมู่ที่ 13  แยกออกเป็นหมู่ที่ 14  อีกหนึ่งหมู่บ้าน  มี  นายท่อนแก้ว   ราชสินธ์  เป็นผู้ใหญ่บ้าน การต่อสู้กันของพรรคคอมมิวนิสต์กับทางการเริ่มสงบลง  ราษฎรที่ออกป่ากลับเข้าร่วมพัฒนาชาติไทยเกือบหมด  ที่เหลือก็คงตกค้างอยู่ที่ต่างประเทศ  เช่น  ประเทศลาว    และในปี  พ.ศ. 2537  นี้   นายไสว แสนมิตร  ก็เกษียณอายุราชการ    นายทิพจันทร์ แสนมิตร ได้รับเลือกให้เป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 5 คนที่ 9     ในช่วงนี้รัฐบาลมีการพัฒนาประชาธิปไตยมากขึ้น  ราษฎร์มีสิทธิ์เสรีภาพมากขึ้น  ต่อมาใน ปี พ.ศ. 2542  ผู้ใหญ่ทิพจันทร์  ได้เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งในตับ        นายลำสินธิ์  จิตมาตย์  ได้รับเลือกตั้งให้เป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 5 คนต่อมาเป็นคนที่  10     ปลายปี พ.ศ. 2543  ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 13 นายคำสิงห์  จิตมาตย์   เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง  นายวีระชัย  จิตมาตย์  ได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 13 คนที่ 2    ต่อมาปี พ.ศ.2547  ผู้ใหญ่ลำสินธิ์ หมดวาระลง จึงมีการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านใหม่   ผู้ได้รับเลือกคือ นายสุระศักดิ์  จิตมาตย์  ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านคนปัจจุบัน ลำดับที่  11    ในปี พ.ศ. 2548 นายวีระชัย  จิตมาตย์  ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 13  ลาออกเพื่อร่วมทีมการเมืองท้องถิ่น จึงมีการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านคนใหม่  ผู้ได้รับเลือกคือ นายสาคร  จิตมาตย์  เป็นผู้ใหญ่หมู่ที่ 13 คนปัจจุบัน

          สำหรับบ้านนาบัวหมู่ 14   เป็นราษฎรของบ้านนาบัวหมู่  5 และหมู่  13  ซึ่งได้รวมเงินกันเพื่อซื้อที่ดินของ  นายออนมณี   ราชสินธ์   ในราคา  5,500  บาท   โดยการนำของนายปราใส  นครเขต   ในปี  พ.ศ.2510  หลังจากซื้อแล้วได้ร่วมมือกันเพื่อวางผังบ้าน  โดยมีการแบ่งเป็นแปลง  แต่ละแปลงมีความกว้าง  8  เมตรและตัดถนนผ่านหมู่บ้าน และรอบบ้านอีก  ไม่นานนักในปี  พ.ศ.2517  ก็มีราษฎรของบ้านนาบัวหมู่  5  ออกมาตั้งบ้านเรือนในที่ดินแปลงนี้  โดยการนำของ  นายครสี   เหลื่อมเภา  , นายท่อนแก้ว   ราชสินธ์  ,  และนายสัมพันธ์  บัวชุม  ต่อจากนั้นก็มีเพื่อนบ้านออกมาตั้งบ้านเรือนทุกปี  ส่วนหนึ่งก็อยู่ตามหัวไร่ปลายนา      ในปีพ.ศ.2535 บ้านนาบัวหมู่ 5ได้แยกเป็น  2  หมู่บ้าน คือหมู่  5  และหมู่  13   ในสมัยนายคำสิงห์  จิตมาตย์  เป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ 13   โดยมี  นายท่อนแก้ว   ราชสินธ์  เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน นั้น ชาวบ้านได้ทยอยกันออกมาตั้งบ้านเรือนอยู่เรื่อยๆ  เนื่องจากชุมชนที่อยู่ใหม่นี้ห่างจากที่อยู่เดิม (หมู่  13 )  ประมาณ  1  กิโลเมตรเศษ  เมื่อมีการประชุมในเรื่องของส่วนราชการหรือการประสานงาน  มีความลำบากพอสมควรเพราะต้องเดินทางเข้าไปรับทราบ  ข่าวสารในส่วนของทางราชการ  ดังนั้นทางผู้นำจึงได้ปรึกษาหารือกัน  เพื่อขอแยกเป็นอีกหมู่บ้านหนึ่ง   ซึ่งมีประมาณ  20  หลังคาเรือน  ทางอำเภอก็เห็นชอบให้แบ่งแยกหมู่บ้านจึงได้อนุมัติจัดตั้งหมู่บ้านนาบัว  หมู่  14  ขึ้น ในปี พ.ศ.2537
           

ทำเนียบผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 5
คนที่ 1 นายจิตปัญญา  แสนมิตร  (นายเชียงมัง ) ประมาณปี พ.ศ.2445-2454
คนที่ 2 นายวรรณทอง  นามพลแสน                 ประมาณปี พ.ศ.2454
คนที่ 3 นายกรม  แสนมิตร                          ประมาณปี พ.ศ.24..-2493
คนที่ 4 นายเกียรติ  นามพลแสน                    ประมาณปี พ.ศ.2493-2498
คนที่ 5 นายบุญทัน  จิตมาตย์                       ประมาณปี พ.ศ.2498-2508
คนที่ 6 นายอัมลา  นามพลแสน            ประมาณปี พ.ศ.2508-2509
คนที่ 7 นายบุษบา  แสนมิตร                         ประมาณปี พ.ศ.2509-2522
คนที่ 8 นายไสว  แสนมิตร                           ประมาณปี พ.ศ.2522-2537
คนที่ 9 นายทิพจันทร์ แสนมิตร                      ประมาณปี  พ.ศ.2537-2542
คนที่ 10 นายลำสินธิ์  จิตมาตย์                       ประมาณปี  พ.ศ.2542-2547
คนที่ 11 นายสุระศักดิ์  จิตมาตย์                    ประมาณปี  พ.ศ.2547-ปัจจุบัน



จุดประสงค์ของการศึกษาค้นคว้า
1. เพื่อได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนการสานตะกร้าจากเส้นพลาสติก
2. เพื่อมีประสบการณ์ในการสานตะกร้าจากเส้นพลาสติก และสามารถนำไปต่อยอดเป็นอาชีพได้

3. เพื่อสามารถใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ศึกษาค้นคว้าและให้ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของการสานตะกร้าจากเส้นพลาสติก
4.เพื่อใช้ถุงพลาสติก เนื่องจากตะกร้าที่สานจากเส้นพลาสติกสามารถใช้ซ้ำได้มากกว่าถุงพลาสติก อีกทั้งยังสามารถช่วยลดภาวะโลกร้อนได้อีกด้วย
ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
ขอบเขตในการศึกษาครั้งนี้ แบ่งเป็น 3 ด้าน ประกอบด้วย
1.ขอบเขตด้านเนื้อหา
2.ขอบเขตด้านวิธีการ
3.ขอบเขตด้านเวลา
ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
ขอบเขตด้านเนื้อหา ศึกษาความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการสานตะกร้าจากไม้ไผ่ หาขั้นตอนการทำที่ง่ายที่สุด ศึกษาประโยชน์ของการใช้ตะกร้า
2.ขอบเขตด้านวิธีการ โดยมีรายละเอียดดังนี้
วัสดุ อุปกรณ์
1.ไม้ไผ่
2.ตอก 
3.มีดหรือพร้าจักตอก

4.เชือกไนล่อน ขนาดเล็ก
5.ค้อน
ขั้นตอนการผลิต
1. จักตอกให้ได้ 2 ขนาดสำหรับการทำลายตะกร้า

              


   


2. นำตอกมาจัดเรียงเส้นตั้ง ทั้ง 11 เส้นให้ชิดกัน (ใช้ปลายเท้าหรือส้นเท้าวางทับ เพื่อไม่ให้เส้นดีด) แล้วนำเส้นนอน มาสานขัดกับเส้นตั้ง โดยการยก 1 เว้น สานสลับกันไปเรื่อยๆ จนหมดทั้ง 11 เส้น โดยแต่ล่ะเส้นเว้นระยะห่างประมาณ 0.5 ซม.
                 




3. หลังจากสานครบ 11 เส้น (นำตอกเส้นเล็กมาสานรอบทั้ง 4 ด้าน 1 เส้น) นำไม้มาขัดเป็นรูปตัว X ที่ก้นตะกร้าเพื่อความแข็งแรงทนทาน นำตอกเส้นเล็กมาสานโดยการยก 1 เว้น สานสลับกันไปเรื่อยๆ จนได้ความสูงตามที่ต้องการ (ระหว่างที่สานไปรอบๆ ให้หมั่นดึงเส้นสานบ่อยๆ เพื่อให้ตะกร้าแน่น)

               

                 




4. จากนั้นนำไม้ (ที่สามารถดัดแล้วไม่หัก) มาครอบที่ปากตะกร้า เพื่อเก็บขอบปาก แล้วนำเชือกไนล่อน เส้นเล็กมาร้อยให้แน่นหนา เพื่อความคงทน
       
           



5. นำไม้มาตอกที่ก้นตะกร้าทั้ง 4 มุ่ม เพื่อทำเป็นขา แล้วนำไม้ที่เหลาแล้ว 3 เส้น มาทำเป็นหูหิ้วของตะกร้า
      
           




กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
โดยส่วนใหญ่แล้วกลุ่มลูกค้าเป้าหมายจะเป็น ประชาชนทั่วไปที่นิยม ใช้ตะกร้าไม้ไผ่ จากภูมิปัญญาพื้นบ้าน โดยส่วนมากจะเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ หรือนำไปเป็นของฝากเป็นต้น

ราคาที่จัดจำหน่าย
ตะกร้าที่ทำการสานจะมี 2 ขนาดคือ
1. ขนาดเล็กราคาขายประมาณ 150 บาท
2. ขนาดใหญ่ราคาประมาณ 200 บาท
ตลาดรองรับ/ช่องทางการจัดจำหน่าย
มีพ่อค้าแม่ค้าคนกลางจากที่ต่างๆมารับซื้อถึงบ้านหรือตลาดโต้รุ่ง บ้านนาบั่ว หมู่ที่ 1 และมีลูกค้ามาจากหมู่บ้านใกล้เคียง มารับซื้อถึงบ้าน คนล่ะประมาณ 1-2 ใบ

ผลผลิตและยอดจำหน่ายต่อเดือน
ยอดผลิตและยอดจำหน่ายต่อเดือนนั้นจะขึ้นอยู่กับกำลังผลิตของแต่ละบุคคลขึ้นอยู่กับช่วงฤดูกาลจึงทำให้ข้อมูลที่ได้ไม่ค่อยแน่นอน

ประโยชน์ของตะกร้าจักสาน และลักษณะการใช้งาน
ลดการใช้ถุงพลาสติก เนื่องจากตะกร้าที่สานจากตอก สามารถใช้ซ้ำได้มากกว่าถุงพลาสติก อีกทั้งยังสามารถช่วยลดภาวะโลกร้อนได้อีกด้วย

ระยะเวลาในการทำตะกร้าจักสานไม้ไผ่

-          อย่างต่ำ 2 วัน ต่อ 1 ใบ
-          อย่างมาก 1 วัน ต่อ  ใบ

3. ขอบเขตด้านเวลา  
ระยะเวลาการดำเนินงาน
-          การศึกษานี้ดำเนินการในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561




ปัญหาและอุปสรรคในการทำตะกร้าจักสานไม้ไผ่
-          มอดกินไม้ที่จะไว้
-          ราขึ้น


นิยามศัพท์เฉพาะ

ตะกร้าจักสานไม้ไผ่ หมายถึง ตะกร้าที่สานจากตอก (ไม้ไผ่ที่ผ่าออกเป็นเส้นบางแบนและยาวเพื่อใช้ผูกมัดหรือสานเครื่องจักสานต่างๆ ) ใช้ทดแทนถุงพลาสติก เพื่อปัญหาลดภาวะโลกร้อน ซึ่งเป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านหรือท้องถิ่น

ประโยชน์ที่ได้รับ
1. ได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนการสานตะกร้าจากเส้นพลาสติก
2. มีประสบการณ์ในการสานตะกร้าจากไม้ไผ่ และสามารถนำไปต่อยอดเป็นอาชีพได้
3. สามารถใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ศึกษาค้นคว้าและให้ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของการสานตะกร้าจากเส้นพลาสติก
4.ลดการใช้ถุงพลาสติก เนื่องจากตะกร้าที่สานจากตอก สามารถใช้ซ้ำได้มากกว่าถุงพลาสติก อีกทั้งยังสามารถช่วยลดภาวะโลกร้อนได้อีกด้วย








ขอขอบคุณผู้ให้สัมภาษณ์

คุณตาสนิท แพนสิงห์

สถานที่ทำตะกร้าจักสานไม่ไผ่
บ้านเลขที่ 4 หมู่ 1 บ้านนาบั่ว ต.เรณูใต้ อ.เรณูนคร จ.นครพนม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น