วิถีการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21


ศาสตราจารย์ นายแพทย์ วิจารณ์ พานิช ผู้ก่อตั้งและอดีตประธานสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย และก่อตั้งสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม ปัจจุบันทำหน้าที่รักษาการนายกสภาสถาบันอาศรมศิลป์ เป็นผู้มีบทบาทสำคัญของประเทศในการสร้างและพัฒนาระบบบริหารจัดการงานวิจัย และการจัดการความรู้ ได้กล่าวถึงทักษะที่สำคัญในทศวรรษที่213R8C ไว้ว่า
 
วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21
การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ต้อง “ก้าวข้ามสาระวิชา” ไปสู่การเรียนรู้ “ทักษะเพื่อการดํารงชีวิตในศตวรรษที่ 21” (21stCentury Skills)  ให้นักเรียน เรียนรู้จากการเรียน แบบลงมือทํา แล้วการเรียนรู้ก็จะเกิดจากภายในใจ และสมองของตนเอง การเรียนรู้แบบนี้เรียกว่า PBL (Project-based Learning)ครูเพื่อศิษย์ต้องเรียนรู้ทักษะใน
 
PBL (Problem-based Learning : การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน) คือ การเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความต้องการที่จะใฝ่หาความรู้เพื่อแก้ปัญหา เป็นเทคนิคการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ลงมือ ปฏิบัติด้วยตัวเอง เป็นผู้ตัดสินใจในสิ่งที่ต้องการแสวงหาความรู้  เผชิญหน้ากับปัญหาด้วยตัวเอง และรู้จักการทำงานร่วมกันเป็นทีมภายในกลุ่มผู้เรียน โดยผู้สอนมีส่วนร่วมน้อยที่สุด ซึ่งการเรียนรู้จากปัญหาอาจเป็นสถานการณ์จริง
PBL มีการพัฒนาขึ้นครั้งแรกโดยคณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ (Faculty of Health Sciences) ของ มหาวิทยาลัยMcMaster ที่ประเทศแคนาดา ได้ถูกนำมาใช้ในกระบวนการติว (tutorial process) ให้กับ นักศึกษาแพทย์ฝึกหัด จนกระทั่งกลางปี ค.ศ. 1980 เทคนิคการสอนโดยใช้รูปแบบ PBL ได้เริ่มขยายออกไปสู่การสอนในสาขาอื่น ๆ เช่น วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาศาสตร์ สังคมศาสตร์ พฤติกรรมศาสตร์
ยุคศตวรรษที่ 21 ปัจจุบันการเรียนรู้สาระวิชา (Content หรือ Subject matter) ควรเป็นการเรียนจากการค้นคว้าเองของศิษย์ โดยครูช่วยแนะนํา และช่วยออกแบบกิจกรรมที่ช่วยให้นักเรียนแต่ละคนสามารถประเมินความก้าวหน้าของการเรียนรู้ของตนเองได้

ยุคศตวรรษที่ 21 ปัจจุบันการเรียนรู้สาระวิชา (Content หรือ Subject matter) ควรเป็นการเรียนจากการค้นคว้าเองของศิษย์ โดยครูช่วยแนะนํา และช่วยออกแบบกิจกรรมที่ช่วยให้นักเรียนแต่ละคนสามารถประเมินความก้าวหน้าของการเรียนรู้ของตนเองได้
สำหรับโลกในศตวรรษที่ 21 นอกจากความรู้ในวิชาหลัก ที่เด็กควรจะได้รับการสอน

เด็กจะต้องควรรู้แนวคิดสำคัญในศตวรรษที่ 21 ดังแผนภาพต่อไปนี้

นอกจากนี้ยังต้องปลูกฝังทักษะสำคัญ ทักษะ ได้แก่
1.ทักษะเพื่อชีวิตและการทำงานในศตวรรษที่ 21 

2.ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม
3.ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี
 
          และเพื่อให้กระบวนการเรียนรู้ต่างๆประสบผลสำเร็จ จำเป็นจะต้องมีพื้นฐาน 4ด้าน เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ดังแผนภาพต่อไปนี้
 
สรุปได้ว่า ทักษะในศตวรรษที่ 21 (21stCentury Skills) เป็นหัวใจสำคัญสำหรับการจัดการศึกษา เพื่อพัฒนามนุษย์มีทักษะยุค 4.0 ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์ของการศึกษาแห่งชาติ
วิดีโอ วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น