กิจกรรม





คำถามท้ายหน่วย
1.สืบค้นจากหนังสือหรือในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เรื่อง การพัฒนามนุษย์ การศึกษาการเรียนรู้และหลักสูตร
        ตอบ  การศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาและเป็นเครื่องชี้นำสังคม ผู้ได้รับการศึกษาจึงเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพและเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ การเรียนการสอนเป็นการพัฒนาคน ซึ่งไม่ใช่สิ่งทดลองหรือลองผิดลองถูก กระบวนการพัฒนาคนนั้นครู ผู้บริหาร บุคลากรทางการศึกษา และผู้ที่เกี่ยวข้องจะร่วมกันจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ การออกแบบการสอนเป็นส่วนสำคัญที่สุดของการสอนเพื่อให้การสอนบรรลุเป้าหมายที่กำหนด โดยอาศัยระบบที่มีขั้นตอนพัฒนาคุณภาพให้ดีขึ้นอย่าง
ต่อเนื่อง


การศึกษา (Education) เป็นการเพิ่มศักยภาพของมนุษย์ ให้สามารถปฏิบัติงานที่มีความแตกต่างจากงานเดิมได้ การศึกษาเป็นกระบวนการในการพัฒนามนุษย์ ทั้งในฐานะที่เป็นมนุษย์โดยตัวของมันเอง และในฐานะที่เป็นทรัพยากร การศึกษาเป็นการพัฒนาคนที่อยู่บนพื้นฐานของความรู้ (knowledge-based)
การจัดการการเรียนรู้ในระบบการศึกษาในทุกวันนี้ ขึ้นอยู่กับว่า มีอะไรที่เป็นความรู้อยู่บ้าง สิ่งนั้นก็จะถูกถ่ายทอดไปยังผู้เรียน ในหลักสูตรที่เน้นตัวเนื้อหาวิชาเป็นศูนย์กลาง (Subject-Centered Curriculum) จะมุ่งเน้นความรู้เฉพาะทางที่อยู่ในเนื้อหาทางวิชาการของวิชานั้นๆ แต่เราในฐานะนักการศึกษา ต้องจดจำไว้เสมอว่า การศึกษามิใช่เป็นเพียงแค่กระบวนการเผยแพร่สาระความรู้ที่มีอยู่เท่านั้น แต่กระบวนการทางการศึกษาที่ดี ต้องเน้นให้ผู้เรียนได้นำสาระทางวิชาการที่ได้เรียนรู้นั้นไปเพื่อได้รับการพัฒนาและนำไปแสวงหาหรือเพื่อการค้นพบความรู้ใหม่ (Wraga, 2009) การปรับเปลี่ยนมุมมองในสิ่งที่เรียกว่า ความรู้ (Knowledge) และ มาตรฐานและข้อบังคับ (Standards and Regulations) รวมถึงการขยายตัวอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี ช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในความรู้อย่างกว้างขวาง การเคลื่อนย้ายถิ่นฐานของประชาชนเป็นอีกสาเหตุที่ก่อให้เกิดวัฒนธรรมโลก และเศรษฐกิจโลกขึ้น การกระจายค่านิยม และความก้าวหน้าของความเป็นประชาธิปไตย ล้วนเป็นประเด็นที่ต้องเรียนรู้ และการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ทำให้เห็นชัดเจนว่า การศึกษานั้นมิใช่มีกรอบจำกัดเพียงแค่คำว่า “โรงเรียน” เท่านั้น แต่ค่านิยมและความเชื่อที่ว่าโรงเรียนคือสถานที่ที่สร้างสรรค์การเรียนรู้ และเพื่อให้ “โรงเรียน” เป็นสถานที่ที่ให้การศึกษาและเป็นแหล่งการเรียนรู้กับคนให้มากที่สุด ครอบคลุมสิ่งซึ่งเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา หลักสูตรเป็นเสมือนเข็มทิศในการเปลี่ยนแปลงชีวิตผู้คน และเป็นสิ่งที่กำหนดและสะท้อนกลับแนวความคิดการเรียนรู้ รวมถึงกิจกรรมทางการศึกษาให้กับผู้เรียน (Sowell, 2000)


           จึงจำเป็นที่โรงเรียนต้องพัฒนาหลักสูตรเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต ในอดีต หลักสูตรทางการศึกษาและการเรียนรู้ เป็นเพียงกระบวนการถ่ายทอดทัศนคติ ความรู้ และทักษะ จากผู้ที่มีประสบการณ์มากกว่าและมีการศึกษาสูงกว่า ไปสู่คนที่มีประสบการณ์และการศึกษาที่ต่ำกว่า เท่านั้น ประกอบกับโดยทั่วไปแล้ว สังคมตระหนักและให้ความสำคัญ ว่า โรงเรียนเป็นสถาบันการศึกษาของสังคมเพียงแห่งเดียวที่ให้โอกาสทางการเรียนรู้กับบุคคลในชาติ ทั้งที่การศึกษาเรียนรู้อาจเกิดขึ้นจากภายนอกห้องเรียนและอาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ดังนั้นทฤษฎีการจัดการศึกษาจึงมิได้มุ่งเพียงแค่ทฤษฎีเกี่ยวกับในระบบโรงเรียน หากแต่ต้องรวมถึงทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันกับสมาชิกโดยรวมของสังคม (Gordon & Rebell, 2007) การกำหนดหลักสูตรจะต้องคำนึงถึงหลักการศึกษาพื้นฐานที่ว่า การศึกษาเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นตลอดชีวิต และในทุกสถานการณ์ที่คนมีชีวิตอยู่ร่วม

หลักปรัชญาที่ควรคำนึงในการกำหนดหลักสูตร           ในการร่างหลักสูตรการเรียนการสอน ควรต้องคำนึงถึงปรัชญาของโลก ของประเทศ และค่านิยมต่างๆ ความต้องการของสังคม และเป้าหมายของสังคมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ปรัชญาของโลก (World Philosophy) ที่เป็นพื้นฐานในการกำหนดทิศทางของการจัดการศึกษา (Webb, Metha & Jordan, 2003)ได้แก่
           1. Ontology (Metaphysics): การเรียนรู้ของจริงต่างๆ ที่อยู่ในโลกและสิ่งแวดล้อมรอบตัวโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า
           2. Epistemology: การเรียนรู้ศาสตร์ต่างๆ
           3. Axiology: การเรียนรู้ในเรื่องของความดี ความสวยงาม ค่านิยม โดยมาผสมผสานกับ Educational Domains เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นบุคคลที่พึงประสงค์ อันได้แก่
          3. 1 Cognitive Domain: มุ่งพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนทางด้านความรู้ และสติปัญญา
          3. 2 Affective Domain: มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดทัศนคติที่ดี เกิดความรักในสิ่งที่ได้เรียนรู้และการเรียนรู้
          3. 3 Psychomotor Domain: มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เกิดทักษะ ความเชี่ยวชาญในสิ่งที่ได้เรียนรู้ 

ใครควรเป็นผู้กำหนดหลักสูตร

          การขยายขอบเขตของหลักสูตรละการจัดการการเรียนรู้ ควรต้องคำนึงสำหรับผู้รับผิดชอบในการออกแบบและกำหนดหลักสูตร ไม่ว่าจะเป็นในเรื่อง ความรับผิดชอบ (Responsibility)ในการจัดการการศึกษา และ ความคาดหวัง (Expectations) ที่ต้องได้รับการพัฒนาจนไปถึงระดับปัจเจกบุคคล เนื้อหาสาระ (Content)รวมถึงกระบวนการฝึกฝน ความมีวินัยในการเรียน และ การเรียนรู้ที่ว่าจะต้องเรียนอย่างไร วิธีสอน (Pedagogy) ที่จะต้องพัฒนาจากการฝึกฝน จนมีความรู้ความสามารถและสามารถมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่นและสิ่งรอบตัว และสถานที่ 
วัตถุประสงค์ วิธีการ ความแข็งแกร่งและความสำเร็จของหลักสูตร ควรที่จะได้รับอิทธิพลมาจากบุคคลในหลากหลายอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลในสายการเมืองการปกครอง สายสังคมศาสตร์ สายเศรษฐศาสตร์ นักการศึกษาเอง หรือแม้กระทั่งบุคคลในสายการศาสนาก็ตาม (Tietelbaum, 1998) ผู้กำหนดหรือผู้ใช้หลักสูตรควรต้องได้รับคำปรึกษาทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม และทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ จากบุคคลตั้งแต่ ผู้ปกครอง กลุ่มชมรมหรือสมาคมในชุมชน ครู คณะกรรมการบริหารโรงเรียน ข้าราชการทางการศึกษาของอำเภอและจังหวัด คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ รายงานการศึกษาต่างๆ
การกำหนดหลักสูตรที่ดี ก็จะเป็นเสมือนแสงไฟที่ส่องทางไปสู่ความสำเร็จของบุคคลที่เดิน ตามแสไฟที่ส่องนำทางนี้ แสงไฟจึงต้องส่องแสงไปสู่เป้าหมายของการพัฒนาคน มิใช่ส่องไปแบบไร้ทิศทาง อย่างไรก็ตาม หลักสูตรต้องเป็นที่เข้าใจได้ (Comprehensiveness) สำหรับผู้ใช้หลักสูตร ต้องมีความเป็นเหตุเป็นผล (Cogency) มีความเกี่ยวเนื่องเกี่ยวพัน (Coherency) และมีความกลมกลืน (Consonance) ทั้งในส่วนของวิชาเดียวกันที่สอนในชั้นที่ต่างระดับกัน ที่เรียกว่า การกลมกลืนและเกี่ยวพันในแนวตั้ง และในส่วนของวิชาที่ต่างกัน แต่สอนในระดับเดียวกัน คือในแนวนอน รวมถึงความเกี่ยวพันกับโครงสร้างและความต้องการของสังคม เพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้ประโยชน์ของการเรียนรู้อย่างแท้จริงในชีวิตประจำวัน 

          2.อุปมาอุปมัย เมื่อการศึกษาเปรียบได้กับเครื่องมือการพัฒนามนุษย์ หลักสูตรเปรียบได้กับสิ่งใด
        ตอบ หลักสูตรเปรียบเสมือนสายน้ำ น้ำเปรียบเสมือนความรู้  สายน้ำมีการเคลื่อนตัวตลอดเวลา สายน้ำแยกย่อยเป็นแม่น้ำหลายสาย สายน้ำแยกย่อยเป็นคูคลองมากมาย สายน้ำคดเคี้ยวเลี้ยวไปตามสภาพภูมิประเทศและเหตุการณ์  สิ่งมีชีวิตที่อยู่ใกล้น้ำก็จะพบว่ามีความเจริญงอกงามดี สภาพพื้นที่ ที่ต่างกันมีความจำเป็นที่ต้องการน้ำต่างกันด้วยเช่นกัน
สายน้ำอาจเกิดขึ้นจากรูปแบบทางธรรมชาติ   สายน้ำอาจเกิดขึ้นจากความต้องการของมนุษย์  มนุษย์ขุดคลองเพื่อใช้ทำการเกษตร  มนุษย์รู้จักการทำชลประทาน การสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำ  ไม่ว่าจะการสร้างเขื่อนเพื่อการชลประทานหรืออย่างไร มนุษย์รู้จักการจัดการกับระบบเพื่อให้ระบบจัดการกับตนเองและได้ประโยชน์สูงสุด ระบบในการจัดการนี้จึงเปรียบเสมือนหลักสูตรที่สร้างขึ้นจากความต้องการจำเป็นในเหตุผลต่างๆนานาประการ 
    เราอาจเรียกต่างกันว่าสายน้ำ ลำน้ำ คูน้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง  ไม่ว่าจะเรียกว่าเป็นสิ่งใดก็ตาม แต่ก็จะประกอบไปด้วยปัจจัยสำคัญก็คือน้ำ  น้ำเป็นสิ่งสำคัญในการใช้ชีวิต หากเปรียบดั่งความรู้ ความรู้ก็เป็นสิ่งสำคัญในการใช้ชีวิต ซึ่งหากปราศจากความรู้ ชีวิตคงไม่สามารถก้าวเดินไปเบื้องหน้าได้อย่างมั่นคง
     หลักสูตรเป็นดั่งสายน้ำที่จัดรูปไปตามริ้วขบวนที่ความต้องการทางธรรมชาติเป็นผู้กำหนด สายน้ำแต่ละสายลดเลี้ยวไปในที่ๆต่างกันไปตามแรงสภาวะของธรรมชาติ คล้ายกับการออกแบบหลักสูตรเพื่อเป็นไปตามความต้องการของเป้าประสงค์ อาทิ การเรียนรู้แบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หรือการเรียนรู้แบบสังคมเป็นศูนย์กลางเป็นต้น  เมื่อธรรมชาติได้กำหนดทิศทางของสายน้ำแล้ว น้ำที่ไหลเรื่อยไปจึงถูกนำไปใช้เพื่อก่อเกิดประโยชน์สูงสุด การนำหลักสูตรไปใช้หรือการที่น้ำถูกนำไปใช้ประโยชน์จึงอยู่ในมิติความหมายเดียวกัน เมื่อถึงขั้นตอนแห่งการประเมินผล ในทางหลักสูตรอาจดูจากผลที่ได้จึงสามารถประเมินค่าในการใช้หลักสูตรนั้นๆออกมาได้  หากแต่การเปรียบประเมินผลถึงสายน้ำแล้วคงไม่พ้น ดอก หรือผลของต้นไม้ในธรรมชาติและสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย   ต้นไม้แต่ละต้นยังเปรียบเสมือนผู้เรียนแต่ละคน  ต้นที่รับน้ำน้อยอาจมีลำต้นไม่ได้มาตรฐานหรือเกิดลักษณะบกพร่องไป  นอกเสียจากว่าต้นไม้บางประเภทอาจมีความต้องการบางอย่างที่ต่างออกไป แต่อย่างไรก็แล้วแต่คงไม่มีสิ่งใดในโลกที่ไม่ต้องการน้ำ เพียงแต่มากน้อยต่างกันไปตามองค์ประกอบของตนเท่านั้น
บทสรุปของการอุปมาอุปมัย  จากที่กล่าวมาข้างต้นสายน้ำสามารถเปรียบได้ถึงหลักสูตรที่จะนำพาน้ำอันเปรียบเสมือนความรู้ที่ถูกจัดอยู่ในกรอบกำหนดของขอบเขตสิ่งที่ไหลไปอย่างเป็นระบบมีและจุดหมายปลายทางการออกแบบ จะเป็นไปตามความต้องการของสภาพแวดล้อมและความต้องการนั้นๆ
ส่วนการประเมินผลสามารถรับรู้ได้จากผลของพืชและสิ่งมีชีวิตที่ได้ประโยชน์จากน้ำและสายน้ำนี้ หากมีความอุดมสมบูรณ์ดีหรือมีความผิดปกติบางประการอาจตรวจสอบได้จากน้ำที่ให้ประโยชน์หรือตรวจสอบจากดินและสภาพแวดล้อมรวมถึงการปรับปรุงแก้ไขไปตามความถูกต้องเพื่อให้เกิดประโยชน์และเป้าหมายสูงสุดของความเจริญงอกงามนั่นเอง
สายน้ำ  เปรียบเสมือน  หลักสูตร
น้ำ  เปรียบเสมือน  ความรู้
พืชพรรณและสิ่งมีชีวิต  เปรียบเสมือน  ผู้เรียน
ดอกผลที่ได้   เปรียบเสมือน   ผลที่ได้จากการประเมิน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น