ทักษะสำหรับโลกอนาคตกับปัญญาประดิษฐ์หรือAI

  •  วิเคราะห์คลิป ยกกำลัง2 ทักษะสำหรับโลกอนาคต



อ้างอิง:https://www.youtube.com/watch?v=qWTpnlOYcrY


ยุคปัญญาประดิษฐ์

          

            AI : Artificial Intelligence (อาร์ตทิฟิคอล อินทอลนิจิน) หรือปัญญาประดิษฐ์ เป็นศาสตร์แขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องกับวิธีการทำให้คอมพิวเตอร์มีความสามารถคล้ายมนุษย์หรือเลียนแบบพฤติกรรมมนุษย์ คือโปรแกรม Software (ซอฟแวร์)ต่าง ๆ ที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะความสามารถในการคิดเองได้ หรือมีปัญญานั่นเอง ปัญญานี้มนุษย์เป็นผู้สร้างให้คอมพิวเตอร์ จึงเรียกว่า ปัญญาประดิษฐ์
คำนิยาม AI ตามความสามารถที่มนุษย์ต้องการแบ่งได้ 4 กลุ่ม ดังนี้

การกระทำคล้ายมนุษย์ Acting Humanly (แอคติ่ง ฮูแมนลี่) 
     - การสร้างเครื่องจักรที่ทำงานในสิ่งซึ่งอาศัยปัญญาเมื่อกระทำโดยมนุษย์
     - สื่อสารได้ด้วยภาษาที่มนุษย์ใช้ เช่น ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ตัวอย่างคือ การแปลงข้อความเป็นคำพูด และ การแปลงคำพูดเป็นข้อความ
     - มีประสาทรับสัมผัสคล้ายมนุษย์ เช่น คอมพิวเตอร์รับภาพได้โดยอุปกรณ์รับสัมผัส แล้วนำภาพไปประมวลผล
     - เคลื่อนไหวได้คล้ายมนุษย์ เช่น หุ่นยนต์ช่วยงานต่าง ๆ อย่างการ ดูดฝุ่น เคลื่อนย้ายสิ่งของ
     - เรียนรู้ได้ โดยสามารถตรวจจับรูปแบบการเกิดของเหตุการณ์ใด ๆ แล้วปรับตัวสู่สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปได้

การคิดคล้ายมนุษย์ Thinking Humanly (แทงกิง ฮูแมนลี่) 
     - กลไกของกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความคิดมนุษย์ เช่น การตัดสินใจ การแก้ปัญหา การเรียนรู้ 
     - ก่อนที่จะทำให้เครื่องคิดอย่างมนุษย์ได้ ต้องรู้ก่อนว่ามนุษย์มีกระบวนการคิดอย่างไร ซึ่งการวิเคราะห์ลักษณะการคิดของมนุษย์เป็นศาสตร์ด้าน cognitive science (คลอนิทีฟ ไซอิน) เช่น ศึกษาโครงสร้างสามมิติของเซลล์สมอง การแลกเปลี่ยนประจุไฟฟ้าระหว่างเซลล์สมอง วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทางเคมีไฟฟ้าในร่างกายระหว่างการคิด ซึ่งจนถึงปัจจุบันเราก็ยังไม่รู้แน่ชัดว่า มนุษย์เรา คิดได้อย่างไร

คิดอย่างมีเหตุผล Thinking rationally (แทงกิง ราสโนรี่) 
     - การศึกษาความสามารถในด้านสติปัญญาโดยการใช้โมเดลการคำนวณ
     - การศึกษาวิธีการคำนวณที่สามารถรับรู้ ใช้เหตุผล และกระทำ
     - ใช้หลักตรรกศาสตร์ในการคิดหาคำตอบอย่างมีเหตุผล เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญ

กระทำอย่างมีเหตุผล Acting rationally (แอคติง ราสโนรี่)
     - การศึกษาเพื่อออกแบบโปรแกรมที่มีความสามารถในการกระทำ หรือเป็นตัวแทนในระบบอัตโนมัติต่าง ๆ ที่มีปัญญา 
     - พฤติกรรมที่แสดงปัญญาในสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น
     - การเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ เช่น โปรแกรมเล่นเกมหมากรุก ที่จะทำให้คู่ต่อสู้แพ้ให้ได้

ตัวอย่างงานด้าน AI (เอไอ) ปัญญาประดิษฐ์ 
     - การวางแผน และการจัดตารางเวลาอัตโนมัติ autonomous planning and scheduling (ออโทโนมัส แพนนิง แอน แซกดูลิ่ง) ตัวอย่างที่สำคัญคือ โปรแกรมควบคุมยานอวกาศระยะไกลขององค์การ NASA (นาซา)
     - game playing (เกมส์ เพล์อิ่ง) เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ Deep Blue (ดีพบลู) ของบริษัทไอบีเอ็ม เป็นโปรแกรมเล่นเกมหมากรุก สามารถเอาชนะคนที่เล่นหมากรุกได้เก่งที่สุดคือ Garry Kasparov (แกรี่ คาสปารอฟ) ด้วยคะแนน 3.5 ต่อ 2.5 ในเกมการแข่งขันหาผู้ชนะระดับโลก เมื่อปี ค.ศ. 1997
     - การควบคุมอัตโนมัติ autonomous control (ออโทโนมัส คอนโทล) เช่น ระบบ ALVINN : Autonomous Land Vehicle In a Neural Network (ออโทโนมัส แลน วีคลอ อิน อนูเรอร์ เน็ตเวิก) เป็นระบบโปรแกรมที่ทำงานด้านการมองเห็นหรือคอมพิวเตอร์วิทัศน์ computer vision system (คอมพิวเตอร์ วิชัน ซิสเต็ม) โปรแกรมนี้จะได้รับการสอนให้ควบคุมพวงมาลัยให้รถแล่นอยู่ในช่องทางอัตโนมัติ
     - การวินิจฉัย diagnosis (ไดนอสิส) เป็นการศึกษาเรื่องสร้างระบบความรู้ของปัญหาเฉพาะอย่าง เช่น การแพทย์หรือวิทยาศาสตร์ จุดประสงค์ของระบบนี้คือทำให้เสมือนมีมนุษย์ผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาและคำตอบเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ
     - หุ่นยนต์ robotics (โรบอทติก) เช่น หุ่นยนต์ ASIMO (อาสิโม) หุ่นยนต์จิ๋วช่วยในการผ่าตัด
     - การแก้โจทย์ปัญหา problem solving (พลอมแพม โซวิ่ง) เช่น โปรแกรม PROVERB (โปรบิส) ที่แก้ปัญหาเกมปริศนาอักษรไขว้ ซึ่งทำได้ดีกว่ามนุษย์

ตัวอย่าง AI ในโลกของภาพยนต์ 
     ภาพยนต์เรื่องต่าง ๆ เช่น Terminator (ทรานฟรอเมอร์), Surrogates (ซักโรเลต), iRobot (ไอโรบอท) หรือ Minority Report (มิโลนิตี้ รีพอร์ต) เป็นต้น จะได้เห็นการทำงานของหุ่นยนตร์ที่มีปัญญาที่คิดได้เอง และสามารถทำงานแทนมนุษย์ได้ทั้งดีหรือไม่ดี
สรุป
     AI (เอไอ) นั้นถูกเอามาใช้ในงานแทนมนุษย์หลายอย่าง เช่น Call Center (คอล เซนเตอร์) ต่าง ๆ เพื่อลดการใช้แรงงานคน และสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า แต่อนาคต AI จะสามารถมาแทนการทำงานที่ซับซ้อนของคนได้แน่นอน เช่น การวางแผน การทำกลยุทธ์ทางการตลาด และการสร้างเนื้องาน Content (คอนเทน) ต่าง ๆ 
ฉะนั้นการเรียนรู้ที่จะปรับตัว และเรียนรู้ที่จะใช้ AI ให้เป็นประโยชน์นั้นจะมีความสำคัญมากต่อธุรกิจในอนาคต และทำให้ธุรกิจนั้นมีความได้เปรียบนั้นอย่างแน่นอน

อ้างอิง
il.mahidol.ac.th

ผลงาน AI  ที่ประสบความสำเร็จ



อ้างอิง:https://www.youtube.com/watch?v=i6rJEp7qi5s&t=375s
   

  เมื่อไม่นานมานี้ อัลฟาโกะ (AlphaGo) ปัญญาประดิษฐ์ของบริษัทดีปมายด์ (DeepMind) ภายใต้การบริหารของกูเกิล เคยสร้างความฮือฮามาแล้วครั้งหนึ่ง หลังโชว์เหนือคว่ำผู้เล่นโกะบนโลกออนไลน์รวดเดียว 60 ราย
     และยังกำราบเซียนโกะระดับโลกอย่าง เค่อเจี๋ย (Ke Jie) จากจีน และอีเชดอล (Lee Sedol) จากเกาหลีใต้ไปแบบราบคาบ
     ถึงอย่างนั้นก็ดี อัลฟาโกะในช่วงเวลาดังกล่าวยังต้องพึ่งพาอาศัยการป้อนข้อมูลและชุดคำสั่งจากทีมผู้พัฒนาอยู่
     แต่ล่าสุดดีปมายด์ได้เปิดเผยข้อมูลว่า อัลฟาโกะเวอร์ชันใหม่นี้ หรือ อัลฟาโกะ ซีโร่ (AlphaGo Zero) จะไม่จำเป็นต้องพึ่งพามนุษย์ในการป้อนข้อมูลอีกต่อไป ซึ่งจะทำให้มันกลายเป็นปัญญาประดิษฐ์นักเล่นโกะที่เก่งและฉลาดที่สุดไปโดยปริยาย
     เดิมทีปัญญาประดิษฐ์อัลฟาโกะรุ่นแรกจะต้องใช้ระยะเวลาในการฝึกฝนเกมโกะของมนุษย์ที่มีความยากระดับมือสมัครเล่นและมืออาชีพมากกว่า 1,000 เกม มันจึงจะสามารถเรียนรู้ทริคและกลยุทธ์ในการเดินหมากบนกระดานรูปแบบต่างๆ ได้
     ตรงกันข้ามกับอัลฟาโกะ ซีโร่ ที่ไม่จำเป็นต้องมีใครมาคอยสอนหรือป้อนข้อมูลต่างๆ ให้เลย แต่มันเรียนรู้ได้ด้วยการฝึกกับตัวเองตั้งแต่วันแรก จนกระทั่งกลายเป็น AI เซียนโกะเบอร์หนึ่งของโลกในเวลาแค่เดือนกว่าๆ เท่านั้น!

เมื่อปัญญาประดิษฐ์กลายเป็นครูของตัวเอง
     ดีปมายด์อธิบายว่า สาเหตุที่เจ้าปัญญาประดิษฐ์เซียนโกะรายใหม่นี้สามารถเรียนรู้หลักการเล่นเกมโกะต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและเชี่ยวชาญเป็นผลมาจากกระบวนการเรียนรู้แบบเสริมกำลัง หรือ Reinforcement Learning (RL) ที่อาศัยการทำงานร่วมกันระหว่างโครงข่ายทางประสาท (Neural Networks) และอัลกอริทึมทรงประสิทธิภาพ (Powerful Search Algorithm)
     แม้วันแรกสุดที่อัลฟาโกะ ซีโร่ ถือกำเนิดขึ้นมา มันจะเล่นโกะไม่เป็นหรือไม่มีความรู้ใดๆ เกี่ยวกับศาสตร์เกมกระดานหมากล้อมมาก่อน แต่มันก็เริ่มเรียนรู้ทุกอย่างได้อย่างรวดเร็วผ่านการฝึกเล่นกับตัวเองแล้วใช้โครงข่ายทางประสาทในการคาดเดาทิศทางการเคลื่อนที่ของผู้เล่นอีกฝ่าย (ตัวเอง)
     เมื่อแต่ละเกมจบลง มันจะเรียนรู้ข้อบกพร่องรวมถึงจุดแข็งของตัวเองแล้วเก็บมาพัฒนาขีดความสามารถในการเดินหมากเกมถัดไป ทั้งยังไม่มีข้อจำกัดเรื่องข้อมูลความรู้ของมนุษย์มาเป็นอุปสรรคในการพัฒนาฝีมืออีกด้วย
     หลังผ่านการเล่นเกมโกะซ้ำแล้วซ้ำเล่ากับตัวเองได้แค่ 3 วัน อัลฟาโกะ ซีโร่ ก็ล้มปัญญาประดิษฐ์อัลฟาโกะอี (AlphaGo Lee) ที่เคยโค่นอีเซดอลด้วยชัยชนะ 100 ต่อ 0 เกมสำเร็จ
     
   

          


       ผ่านไป 21 วัน มันปราบอัลฟาโกะระดับมาสเตอร์ (AlphaGo Master) ที่เคยมีชัยเหนือเค่อเจี๋ย ปรมาจารย์โกะจากจีนทั้ง 3 เกมรวดที่แข่งด้วยกัน รวมถึงผู้เล่นบนโลกออนไลน์จำนวน 60 คน






ทักษะที่มนุษย์จะต้องเร่งปรับตัวให้ทันกับความสามารถที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆของปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI
       ในศตวรรษที่ 21 การเรียนแบบท่องจำ และการเรียนเพื่อรู้แต่ข้อมูล (information) เพียงอย่างเดียว จะมีประโยชน์น้อยลงทุกที หรือเรียกได้ว่า ความรู้จาก 1i ไม่เพียงพอ แต่ต้องปรับเป็น 4i คือ
(i)magination – จินตนาการ
(i)nspiration – แรงดลใจ
(i)nsight – ความเข้าใจลุ่มลึก
(i)ntuition – ญานทัศน์ การหยั่งรู้
        เพราะเรากำลังเจอโจทย์ท้าทายแห่งยุค ในการพัฒนาคนให้พร้อมสำหรับ “งานที่ยังไม่มีในวันนี้ โดยต้องใช้เทคโนโลยีที่ยังไม่เกิด เพื่อแก้ปัญหาที่ยังไม่รู้ว่าคืออะไร”
           

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น